รู้จักระบบ ASRS โซลูชันสำคัญสำหรับงานโลจิสติกส์

ระบบ ASRS คืออะไร โซลูชันสำคัญที่สายงานโลจิสติกส์ต้องรู้ !

รู้จักระบบ ASRS โซลูชันสำคัญสำหรับงานโลจิสติกส์


หนึ่งในปัญหาโลกแตกของระบบจัดการคลังสินค้า นั่นคือการนับสต๊อก จัดเก็บ และเบิกจ่ายตามจุดที่กำหนด ซึ่งหลายครั้งมักจะมีความขัดข้อง จากความไม่แม่นยำที่เกิดจากข้อมูลสินค้าคงคลัง ตลอดจนความวุ่นวายในการกระจายสินค้าที่ไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ลองมาทำความรู้จักกับโซลูชันตัวช่วยใหม่อย่าง "ระบบ ASRS" หากยังไม่รู้ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร เรามีคำตอบ !


ระบบ ASRS โซลูชันที่โลจิสติกส์ในไทยต้องมี !


ระบบ ASRS (Automated Storage & Retrieval System) คือ ระบบการจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่ช่วยให้บริหารจัดการได้อย่างแม่นยำ ด้วยระบบอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกับเครื่องจักร และโปรแกรมการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ระบบนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการจัดการคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนแรงงาน ประหยัดพื้นที่ และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์อีกด้วย


องค์ประกอบของระบบ ASRS


เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบ ASRS ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการทำความรู้จักกับองค์ประกอบหลักของระบบ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 7 ส่วน ดังนี้


  • ชั้นวางสินค้า (ASRS Racking) ซึ่งเป็นระบบชั้นวางที่ออกแบบมาให้ใช้กับ ASRS โดยเฉพาะ ทำให้มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้มาก โดยมีโครงสร้างที่เอื้อต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรอัตโนมัติ
  • เครื่องจักรที่ใช้จัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้า Storage and Retrieval Machine (SRM) ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบ ASRS โดยจะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าเข้าและออกจากชั้นวางแบบอัตโนมัติ ทำได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ทั้งยังมีความแม่นยำสูง และสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
  • พาเลท ถาด หรือยูนิต สำหรับจัดเก็บสินค้า (Storage Module) อุปกรณ์เหล่านี้ มีหน้าที่ใช้สำหรับวางสินค้า โดยออกแบบมาให้เข้ากับระบบ ASRS เพื่อให้การจัดเก็บและเบิกจ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station) เป็นจุดที่สินค้าจะถูกนำเข้าสู่ระบบ หรือนำออกจากระบบ โดยอาจมีการทำงานร่วมกับพนักงาน หรือระบบอัตโนมัติอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวสูงสุด
  • ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและควบคุม นับเป็นสมองของระบบ ASRS โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร จัดการข้อมูลสินค้า และประมวลผลคำสั่งต่าง ๆ ให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น และแม่นยำ
  • อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สายพานลำเลียง (Conveyor) อุปกรณ์เหล่านี้มีประโยชน์ในการช่วยเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างจุดต่าง ๆ ในคลังสินค้า เชื่อมต่อการทำงานระหว่าง SRM กับสถานีหยิบและฝากวัสดุ
  • รถ AGV (Automated Guided Vehicle) เป็นยานพาหนะอัตโนมัติในระบบ ASRS โดยในไทยนิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำไปใช้ในคลังสินค้าได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนย้าย และจัดวางสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประโยชน์ของระบบ ASRS ที่ตอบโจทย์คลังสินค้าในไทย


จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของระบบ ASRS ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังมอบประโยชน์หลากหลายที่ตอบโจทย์ความต้องการของคลังสินค้าสมัยใหม่ มาดูกันว่าระบบ ASRS สามารถยกระดับการจัดการคลังสินค้าในไทยได้อย่างไรบ้าง ?


ประโยชน์ของระบบ ASRS คืออะไร สำคัญกับธุรกิจไหม

1. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้า


ระบบ ASRS คือกลไกสำคัญที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่จัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าได้ ด้วยการทำงานอัตโนมัติที่รวดเร็วและแม่นยำของเครื่องจักร SRM ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสินค้า จัดเก็บ และเบิกจ่ายตามระบบที่คอมพิวเตอร์ควบคุมไว้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บสินค้าโดยใช้พื้นที่ในแนวตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม


2. เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่คลังสินค้า


เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานคลังสินค้า ระบบ ASRS คือโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานในคลังสินค้า เนื่องจากระบบนี้ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ ลดความจำเป็นในการที่พนักงานต้องปีนขึ้นที่สูง หรือเคลื่อนย้ายสินค้าหนัก นอกจากนี้ ระบบยังมีการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ช่วยป้องกันการพังทลายของชั้นวางสินค้าหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งลำเลียงสินค้าได้อย่างอุ่นใจ


3. ช่วยปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลัง


เหตุผลที่ระบบ ASRS นิยมนำมาใช้ในไทยมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ผู้ประกอบการในหลาย ๆ ธุรกิจเริ่มศึกษาและปรับใช้อย่างเป็นมาตรฐานภายในคลังสินค้า เนื่องจากระบบนี้สามารถติดตามและบันทึกข้อมูลสินค้าแบบเรียลไทม์ ทำให้ทราบสถานะของสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการช่วยวางแผนสั่งซื้อสินค้า ลดปัญหาสินค้าขาดสต็อกหรือสินค้าล้นสต็อกได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย


4. รองรับการเติบโตของธุรกิจ


ในยุคที่ธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบ ASRS สามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้เป็นอย่างดี ด้วยความสามารถในการจัดเก็บสินค้าในพื้นที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถเพิ่มความจุของคลังสินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องขยายพื้นที่จัดเก็บ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถปรับเปลี่ยนและขยายได้ตามความต้องการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนช่องจัดเก็บ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัดในเรื่องระบบการบริหารและจัดการคลังสินค้าอย่างแน่นอน

ด้วยประโยชน์มากมายเหล่านี้ ระบบ ASRS จึงเป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของคลังสินค้าสมัยใหม่ได้อย่างครบถ้วน ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่ยังช่วยลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัย และรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การลงทุนในระบบ ASRS กลายเป็นก้าวสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการยกระดับการจัดการคลังสินค้าให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

รองรับอีกก้าวที่เติบโตของระบบคลังสินค้า พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสำหรับองค์กรคุณ ด้วยอุปกรณ์สำหรับระบบ ASRS จาก Tellus ผู้ผลิตและออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติที่ครอบคลุมทุกการใช้งาน พร้อมการันตีคุณภาพ และมาตรฐานการรองรับน้ำหนักที่ปลอดภัย ทั้งยังมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044


แหล่งอ้างอิง

  1. What is an automated storage and retrieval system? AS/RS meaning and more. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 จาก https://6river.com/what-is-an-automated-storage-and-retrieval-system/
  2. ASRS 101: Automated Storage and Retrieval Systems. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 จาก https://us.blog.kardex-remstar.com/automated-storage-and-retrieval-systems-asrs#glossary_of_asrs_related_terms
ชั้นวางของในอุตสาหกรรม

ชั้นวางของมีกี่ประเภท และแนะนำเทคนิคการเลือกให้ตอบโจทย์

ชั้นวางของในอุตสาหกรรม

ในคลังสินค้า โรงงาน หรือพื้นที่จัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ ชั้นวางสินค้า (Storage Rack) เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่ช่วยให้การจัดเก็บสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างมีระเบียบ ปลอดภัย และกระจายสินค้าได้สะดวก แต่ด้วยรูปแบบและประเภทของชั้นวางที่มีหลากหลาย อาจสร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานในการเลือกประเภทที่เหมาะสมกับความต้องการ บทความจึงจะพาไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันว่า ชั้นวางของมีกี่ประเภท เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ชั้นวางอุตสาหกรรมและแร็กวางสินค้าได้อย่างเหมาะสม

ประเภทของชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม

การเลือกชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดพื้นที่ในคลัง และหยิบสินค้าได้สะดวก ซึ่งในปัจจุบัน ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีจุดเด่นและเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

ชั้นวางแบบ Micro Rack

ชั้นวางของขนาดเล็กที่ออกแบบมาสำหรับจัดเก็บสินค้าน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องการจัดเก็บชิ้นส่วนขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่ หรือเอกสาร เพราะช่วยประหยัดพื้นที่ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและค้นหาสินค้าได้สะดวก

Mezzanine Floor Rack

ชั้นวางระบบชั้นลอย ที่เพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้าแบบ 2 ชั้น โดยไม่ต้องขยายพื้นที่คลังสินค้าให้ยุ่งยาก มาพร้อมโครงสร้างแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณมาก ต้องการพื้นที่เก็บขนาดใหญ่ หรือใช้สำหรับการจัดเก็บสินค้าที่ไม่ต้องการการเคลื่อนย้ายบ่อย

FIFO Rack

ระบบชั้นวางแบบ FIFO Rack (First In First Out) คือ การหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เหมาะสำหรับสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ เพื่อลดความยุ่งยากในการหยิบเข้า-ออก หรือสินค้าที่มีอายุการใช้งานจำกัด ต้องการหมุนเวียนสินค้าเก่าออกก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานาน มักใช้ในคลังสินค้าเก็บยา อาหาร หรือสินค้าที่สามารถเน่าเสียเร็ว

Selective Rack

ชั้นวางสินค้าแบบมาตรฐาน มีโครงสร้างแข็งแรง ปรับระยะห่างของแต่ละชั้นวางได้อิสระ เข้าถึงสินค้าได้ทุกชั้นวาง เหมาะสำหรับสินค้าที่มีความหลากหลาย และต้องการความยืดหยุ่นในการจัดเก็บหรือการค้นหาสินค้า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งานร่วมกับรถยกฟอร์กลิฟต์ได้ โดยไม่ต้องเรียงสินค้าก่อนหลัง เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคลังสินค้าที่มีการหมุนเวียนสินค้าสูง สามารถเพิ่มอุปกรณ์ถาดรับพาเลตในแต่ละชั้นเข้าไปได้

Drive-In หรือ Drive Through Rack

ชั้นวางที่ออกแบบให้รถฟอร์กลิฟต์สามารถขับเข้าไปเก็บสินค้าในชั้นวางได้โดยตรง ช่วยเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บและประหยัดพื้นที่ทางเดิน เหมาะสำหรับสินค้าที่มีความเหมือนกัน มีปริมาณมาก และต้องการหยิบสินค้าบ่อยครั้ง แต่ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีความหลากหลาย เนื่องจากมีความยุ่งยากในการจัดเรียงสต็อก จำเป็นต้องใช้ระบบหมุนเวียนสินค้า เอาของที่ต้องออกก่อนจัดไว้หน้าสุด

Push Back Rack

ชั้นวางในคลังสินค้าที่รวมเอาข้อดีของชั้นแบบ Drive-In Rack และ FIFO Rack เข้าไว้ด้วยกัน เป็นระบบชั้นวางที่ใช้หลักการดันพาเลตถอยหลังเมื่อมีการเพิ่มสินค้าใหม่ ชั้นวางมีขนาดใหญ่และมีช่วงลึก (Multi-Deep) ทำให้สามารถเก็บสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเพิ่มอุปกรณ์ถาดรับพาเลตในแต่ละชั้นเข้าไปได้ ช่วยเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บ และประหยัดพื้นที่ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีจำนวน SKUs น้อย แต่มีปริมาณการจัดเก็บจำนวนมาก

Mobile Rack

ชั้นวางสินค้าสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยระบบรางโดยใช้มอเตอร์เป็นตัวเคลื่อนย้าย ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายชั้นวางไปในแนวซ้ายและขวาได้ เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานพื้นที่ เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการหยิบใช้บ่อย ๆ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จัดเก็บบ่อยครั้ง

Cantilever Rack

Rack วางของที่ออกแบบมาสำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีความยาวหรือมีรูปทรงแปลก ลักษณะเด่นคือ ไม่มีเสาด้านหน้าทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงและจัดการสินค้า เหมาะสำหรับเก็บสินค้าที่มีความยาว เช่น ท่อ แผ่นไม้ หรือโลหะแผ่น และอุตสาหกรรมที่ต้องจัดเก็บวัสดุที่มีขนาดไม่สม่ำเสมอ

ชั้นวางอุตสาหกรรมในคลังสินค้า

แนวทางการเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า

สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในขั้นตอนการเลือกชั้นวางที่เหมาะสม สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยสำคัญหลายประการ ดังนี้

  • ประเภทและขนาดของพาเลต : เลือกชั้นวางที่รองรับขนาดและน้ำหนักของพาเลต ที่เหมาะสมกับความสูงของเพดานคลังสินค้า และควรเผื่อพื้นที่ว่างสำหรับการวางและหยิบสินค้า
  • ชนิดของสินค้าที่จัดเก็บ : พิจารณาขนาด น้ำหนัก รูปร่างของสินค้า รวมถึงความถี่ในการหยิบสินค้า นอกจากนี้ พิจารณาสินค้าบางประเภทที่อาจต้องการชั้นวางพิเศษ เช่น ชั้นวางสำหรับสินค้าอันตราย หรือชั้นวางสำหรับสินค้าขนาดใหญ่
  • พื้นที่คลังสินค้า : พิจารณาความสูงของเพดานและข้อจำกัดด้านโครงสร้างของคลังสินค้า โดยเลือกระบบชั้นวางที่ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Mobile Rack สำหรับคลังที่มีพื้นที่จำกัด
  • ชนิดของรถยก : หากมีการใช้งานร่วมกับรถยก หรือรถฟอร์กลิฟต์ (Forklift) ควรเลือกชั้นวางที่เข้ากันได้กับชนิดของรถยก และพิจารณาความกว้างที่เหมาะสมของช่องทางเดินรถ
  • ระบบการหมุนเวียนสินค้า : ระบบการหมุนเวียนสินค้าภายในคลัง คือปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยหากมีสินค้าจำนวนมากและจำเป็นต้องหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว ควรพิจารณาชั้นวางแบบ FIFO (First In First Out) ชั้นวางแบบมีชั้นลอย หรือชั้นวางแบบมีระบบราง โดยควรเลือกชั้นวางที่รองรับระบบจัดเก็บสินค้าที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวได้ดี

หลังจากที่ได้รู้กันแล้วว่าชั้นวางของมีกี่ประเภท และหากกำลังมองหาชั้นวางอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับระบบคลังสินค้าของคุณอยู่ Tellus คือคำตอบ ! เพราะเราเป็นผู้ผลิตและออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติที่มีความหลากหลาย ที่สุดของ Storage Solution ที่ได้มาตรฐาน ในราคาคุ้มค่า ให้คุณเลือกระบบ แร็กวางสินค้า ได้ตามใจ พร้อมการันตีคุณภาพ และมาตรฐานรองรับน้ำหนักที่ปลอดภัย ทั้งยังมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลคุณตลอดการใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานภายในคลังสินค้าของคุณมากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044.

แหล่งอ้างอิง

  • ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า (Rack) มีกี่ประเภท? เลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะกับคลังสินค้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 จาก https://packhai.com/warehouse-rack/#6Cantilever_Rack
รู้จักวิธีการจัดเรียงสินค้าบนพาเลทสำหรับคลังสินค้า

สำรวจความสำคัญและวิธีการจัดเรียงสินค้าบนพาเลท

จัดการสินค้าในคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการจัดเรียงสินค้าแบบวางพาเลท (Pallet) ที่เหมาะสม เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าที่รวดเร็ว ปลอดภัย ทั้งยังช่วยประหยัดพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโซลูชันเพื่อบริหารจัดการระบบการวางพาเลทอยู่ บอกเลยว่าบทความนี้มีคำตอบ !

รู้จักวิธีการจัดเรียงสินค้าบนพาเลทสำหรับคลังสินค้า

ความสำคัญของการจัดเรียงสินค้าโดยพาเลท

การจัดเรียงสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ และหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ การใช้พาเลท (Pallet) ในการจัดเรียงและขนส่งสินค้า โดยพาเลทเป็นแท่นรองรับสินค้าที่ทำจากหลากหลายวัสดุ ทั้งทำจากไม้ พลาสติก หรือโลหะ ซึ่งจะออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักสินค้าและอำนวยความสะดวกในการยกและเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รถยกฟอร์กลิฟต์ หรือรถเข็นสำหรับขนย้ายทั่วไป

แน่นอนว่าการนำพาเลทมาใช้ในการจัดเรียงสินค้า ไม่เพียงแต่จะเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ต้นทุน และคุณภาพของการบริหารงานคลัง โดยสามารถสรุปความสำคัญได้ ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง

การใช้พาเลทช่วยให้การขนย้ายสินค้าจำนวนมากทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยใช้อุปกรณ์ เช่น รถยกหรือรถเข็นพาเลท ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ยังช่วยให้การจัดเรียงสินค้าในรถบรรทุกหรือตู้คอนเทนเนอร์เป็นไปอย่างมีระเบียบและใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า

2. เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ

การจัดเรียงสินค้าบนพาเลทช่วยให้สามารถวางซ้อนกันได้สูงขึ้น ทำให้ใช้พื้นที่ในแนวตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม ทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการเช่าหรือสร้างพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเติมอีกด้วย

3. ปกป้องสินค้าจากความเสียหาย

เพราะพาเลทมีหน้าที่ช่วยยกสินค้าให้พ้นจากพื้น ซึ่งมีข้อดีในการป้องกันความชื้นและความเสียหายจากการกระแทกระหว่างการขนย้าย นอกจากนี้ การจัดเรียงสินค้าบนพาเลทอย่างเหมาะสมยังช่วยกระจายน้ำหนักและป้องกันการทับกันของสินค้า ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายระหว่างการจัดเก็บและขนส่ง

4. เพิ่มความสะดวกในการตรวจนับสินค้า

การจัดเรียงสินค้าบนพาเลท ช่วยให้การตรวจนับสินค้าทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีการจัดเรียงสินค้าเป็นหน่วยที่ชัดเจน ทำให้ตรวจสอบปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ และลดเวลาในการทำงานของพนักงาน

5. สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ

การจัดเรียงสินค้าบนพาเลทอย่างเป็นระเบียบ ช่วยสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ แสดงถึงความเป็นมืออาชีพในการจัดการสินค้าและคลังสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทและความน่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกิจได้อย่างแน่นอน

มาตรฐานของการจัดเรียงสินค้าบนพาเลท

สำหรับมาตรฐานการจัดวางสินค้าบนพาเลท เป็นการควบคุมกระบวนการจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมาตรฐานเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สนองต่อความต้องการบริหารคลังสินค้า และความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม ภายใต้ 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้

Pallet stacking standards for warehouses

1. ขนาดพาเลท

ขนาดของพาเลท ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการจัดเรียงสินค้า โดยในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดมาตรฐาน 3 ขนาดหลัก ดังนี้

  1. ยูโรพาเลท (Euro Pallet) : มีขนาดอยู่ที่ 80 x 120 เซนติเมตร นับเป็นโครงสร้างตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร ยูโรพาเลทได้รับความนิยมในแถบยุโรป เนื่องจากมีความเหมาะสมกับระบบขนส่งและคลังสินค้าในภูมิภาคนี้
  2. แจแปนพาเลท (Japan Pallet) : มีขนาด 110 x 110 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ได้รับความนิยมในแถบอาเซียน โดยมีขนาดที่เหมาะสมกับระบบขนส่งและการจัดเก็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. อเมริกันพาเลท (American Pallet) : มีขนาด 100 x 120 เซนติเมตร เป็นขนาดพาเลทพลาสติกที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเป็นขนาดพาเลทพลาสติกที่ใช้กันมากในประเทศไทย

2. วัสดุของพาเลท

สำหรับวัสดุของพาเลท ในปัจจุบันถือว่ามีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย โดยแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดเฉพาะในการใช้งานและการรับน้ำหนัก

  • พาเลทไม้ : ต้องผลิตตามกฎ IPPC (International Plant Protection Convention) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของศัตรูพืช เช่น เชื้อรา แมลง และปลวกกัดกิน ดังนั้น หากจะมีการใช้พาเลทไม้ในการขนส่งระหว่างประเทศ ควรจะต้องมีเครื่องหมาย IPPC กำกับเสมอk.
  • พาเลทพลาสติก : เป็นวัสดุที่มีความทนทาน น้ำหนักเบา ในขณะเดียวกันก็สามารถดูแลรักษาได้ง่าย จึงหมดกังวลเรื่องปัญหาจากความชื้น และปัญหาอื่น ๆ ที่เจอในพาเลทไม้ ในขณะเดียวก็สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และคุ้มค่ามากอีกด้วย
  • พาเลทเหล็ก : ที่สุดของวัสดุพาเลทที่มีคุณสมบัติครอบคลุมมากที่สุด ทั้งความทนทานและความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถกันไฟได้ดี ไม่เป็นเชื้อเพลิงให้เกิดการลุกลาม สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าพาเลททุกชนิด เหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีสินค้าหนัก

3. ระบบการจัดเรียงพาเลท

ในส่วนของระบบการจัดเรียงสินค้าบนพาเลท ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยในปัจจุบันจะมีอยู่หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น
  • การจัดเรียงแบบ Column Stack : เป็นการวางพาเลทสินค้าซ้อนกันแบบบล็อก ภายใต้การจัดวางตำแหน่งที่แม่นยำ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อแรงกดทับ
  • การจัดเรียงแบบ Interlocking Stack : เป็นการจัดพาเลทวางสินค้าสลับฟันปลา ช่วยเพิ่มความมั่นคงและลดโอกาสการล้มของกองสินค้า
  • การจัดเรียงบน Racking System : เป็นการจัดพาเลทสินค้าบนระบบชั้นวาง โดยทั่วไปจะพบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ ใช้ได้ทั้ง Drive-in Racking System และ Push Back Racking System
  • การรัดสินค้า : ใช้สายรัดหรือฟิล์มพลาสติกพันรอบสินค้าบนพาเลท เพื่อป้องกันสินค้าเคลื่อนที่ระหว่างการขนส่ง ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสวัสดิภาพ

การจัดวางสินค้าบนพาเลทมีกี่วิธี ?

หลังจากรู้วิธีการจัดเรียงพาเลทตามมาตรฐานที่นิยมกันอย่างแพร่หลายไปแล้ว ลำดับถัดมาลองมาดูวิธีการจัดเรียงสินค้าบนพาเลทกันบ้าง ว่าจะมีกี่วิธีที่ช่วยคงสภาพให้สินค้าสามารถจัดส่งได้อย่างปลอดภัย ไม่ล้ม หรือเกิดความเสียหายจากการกดทับของการจัดวาง

  • จัดวางเป็นแถว : เป็นการจัดเรียงในสิ่งที่มีขนาดเท่ากัน จัดวางและซ้อนกันเป็นแถวเรียบร้อย ค่อนข้างแข็งแรง แค่ใช้อุปกรณ์ยึดติดอีกเล็กน้อย ก็นับว่าเรียบร้อย
  • จัดวางแบบสลับ : เป็นการจัดเรียงเฉพาะสำหรับของแข็งเท่านั้น ในกรณีที่ของมีขนาดไม่เท่ากัน โดยวางเรียงสลับกันตามความเหมาะสมเพื่อประหยัดพื้นที่

เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารพื้นที่คลังสินค้า ด้วย ชั้นวางอุตสาหกรรมสำหรับวางพาเลทจาก Tellus ที่สุดของ Storage Solution ที่ได้มาตรฐาน เพราะเราเป็นผู้นำนวัตกรรมการจัดเก็บและการจัดการสินค้าที่เข้าใจทุกการใช้งาน พร้อมการันตีคุณภาพ และมาตรฐานรองรับน้ำหนักที่ปลอดภัย ทั้งยังมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลคุณตลอดการใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานภายในคลังสินค้าของคุณมากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044

พนักงานกำลังหาเอกสารจากตู้วางเอกสาร

ประเภทของตู้วางเอกสาร และเทคนิคการเลือกให้ตอบโจทย์

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจ การจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบจึงกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ตู้เหล็กอเนกประสงค์จัดเก็บเอกสารจึงเปรียบเสมือนผู้ช่วยสำคัญที่ช่วยให้การทำงานในออฟฟิศมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการที่มองหาโซลูชันจัดการงานเอกสาร มาทำความรู้จักกับตู้เก็บเอกสาร สำนักงานประเภทต่าง ๆ พร้อมเทคนิคการเลือกตู้เหล็กอเนกประสงค์ให้ตอบโจทย์การใช้งาน

พนักงานกำลังหาเอกสารจากตู้วางเอกสาร

ประโยชน์ของการจัดเก็บเอกสาร

การจัดเก็บเอกสาร เป็นกระบวนการจัดระบบ จัดหมวดหมู่ และเก็บรักษาเอกสารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้สามารถค้นหาเอกสารที่ต้องการได้ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรต่าง ๆ โดยมีข้อดีดังนี้

1. ค้นหาเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว

เมื่อเอกสารถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ จะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาเอกสารที่ต้องการ พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาทั่วออฟฟิศ

2. ป้องกันเอกสารสูญหาย

เอกสารส่วนตัว เอกสารธุรกิจ หรือเอกสารราชการ ล้วนมีข้อมูลสำคัญที่หากเล็ดลอดไปสู่ผู้ไม่หวังดีอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งด้านการเงิน กฎหมาย และชื่อเสียง ดังนั้น การจัดเก็บเอกสารในตู้ที่ปิดล็อกอย่างมิดชิด จำกัดการเข้าถึง จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องเอกสารสำคัญ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเอกสารจะปลอดภัยจากภัยคุกคามต่าง ๆ

3. ประหยัดพื้นที่

สำหรับสำนักงานที่มีพื้นที่จำกัด การใช้ชั้นวางเอกสารหรือตู้เก็บแฟ้มเอกสารขนาดเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้จัดเก็บได้อย่างเป็นระเบียบแล้ว ยังช่วยให้ใช้พื้นที่ที่มีจำกัดได้อย่างคุ้มค่าในทุกตารางนิ้วอีกด้วย

4. รักษาเอกสารให้คงทน

วิธีการเก็บเอกสารให้ปลอดภัยจากฝุ่นละออง ความชื้น แสงแดด และแมลง คือการจัดเก็บเอกสารในกล่องหรือแฟ้มที่ปิดมิดชิด จะช่วยป้องกันเอกสารจากความเสียหาย ยืดอายุการใช้งาน และทำให้ค้นหาเอกสารได้ง่าย

5. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

การจัดเก็บเอกสารในตู้วางเอกสารที่มีดีไซน์สวย สะอาดตา และเป็นระเบียบ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ

ตู้เหล็กอเนกประสงค์ สำหรับจัดเก็บเอกสาร

ประเภทของตู้เหล็กอเนกประสงค์ ตู้เก็บแฟ้มเอกสาร

ปัจจุบันตู้เก็บเอกสารมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ตอบโจทย์การใช้งานทุกประเภท โดยเฉพาะตู้เหล็กอเนกประสงค์ที่ผลิตจากวัสดุคุณภาพ แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน โดยมีประเภทที่นิยมใช้ในสำนักงาน ดังนี้

  1. ตู้เก็บเอกสารแบบมีลูกรอก : ตู้เหล็กที่มีล้อด้านล่าง สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัด สำหรับเก็บเอกสารทั่วไป อุปกรณ์สำนักงาน ของใช้ส่วนตัว
  2. ตู้เก็บเอกสารแบบชั้นวางอิสระ : ตู้เหล็กที่มีชั้นวาง ไม่มีบานปิด สามารถปรับแต่งพื้นที่จัดเก็บได้หลากหลาย เหมาะสำหรับเก็บเอกสารที่หยิบใช้งานบ่อย หนังสือ ของสะสม
  3. ตู้เก็บเอกสารแบบบานเปิด-ปิด : ตู้เหล็กที่มีบานเปิด-ปิดมิดชิด ป้องกันฝุ่นละออง รักษาเอกสารให้อยู่ในสภาพดี มีรูปลักษณ์สวยงาม เหมาะสำหรับเก็บเอกสารสำคัญ เอกสารลับ หรือของมีค่าต่าง ๆ
  4. ตู้เก็บเอกสารแบบ Locker : ตู้เหล็กที่มีช่องเก็บของแยกเป็นชั้น พร้อมกุญแจล็อก ช่วยเพิ่มความปลอดภัย เหมาะสำหรับเก็บของมีค่า ของใช้ส่วนตัว เอกสารลับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เทคนิคการเลือกตู้เหล็กอเนกประสงค์ให้ตอบโจทย์การใช้งาน

ตู้เหล็กอเนกประสงค์ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับจัดเก็บเอกสาร อุปกรณ์สำนักงาน ของใช้ส่วนตัว หรือสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ตาม การเลือกตู้เหล็กอเนกประสงค์ให้เหมาะกับการใช้งานนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ขนาดพื้นที่และรูปทรง : พิจารณาความสูง ความกว้าง และความลึกของพื้นที่ติดตั้ง และจำนวนเอกสาร เพื่อเลือกรูปแบบตู้ที่มีรูปทรงและขนาดเหมาะสม ไม่ควรเล็กจนเกินไป เพราะอาจทำให้เก็บของไม่พอ
  • การใช้งาน : สำหรับการเก็บของทั่วไปควรเลือกรูปแบบตู้ที่มีชั้นวางอิสระ มีชั้นวางของหลายชั้น แต่ถ้าหากต้องการเก็บเอกสาร ควรเลือกรูปแบบตู้ที่มีลิ้นชัก ที่ช่วยจัดเก็บได้มิดชิด ป้องกันฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้
  • ฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มเติม : เลือกตู้ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะกับความต้องการ เช่น มีชั้นวางของแบบปรับระดับได้ เหมาะกับการจัดเก็บของที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน มีลิ้นชักแบบล็อกได้ เหมาะกับการเก็บข
  • วัสดุมีคุณภาพ : เลือกตู้ที่มีพื้นผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย ผลิตจากเหล็กหนา ทนทาน กันน้ำ กันไฟ และกันสนิม

มาเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บสินค้า อุปกรณ์ และเอกสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย ตู้เก็บเอกสาร ชั้นวางของสำนักงาน from Tellus, the ultimate in storage standardsและระบบชั้นวางอเนกประสงค์ครบวงจรจาก Tellus ที่สุดของ Storage Solution ที่ได้มาตรฐาน เพราะเราเป็นผู้นำนวัตกรรมการจัดเก็บและการจัดการสินค้า ในราคาคุ้มค่า เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ พร้อมมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานภายในคลังสินค้าของคุณมากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044.

แหล่งอ้างอิง

ชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking

ข้อดีและการเลือกชั้นวาง Selective Racking ให้เหมาะกับธุรกิจ

Selective Racking คือระบบจัดเก็บสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในคลังสินค้าทั่วไป ด้วยความยืดหยุ่นและการเข้าถึงสินค้าที่สะดวก เหมาะสำหรับสินค้าหลากหลายประเภท สำหรับผู้ประกอบการที่มองหาโซลูชันคลังสินค้าที่ยืดหยุ่นและเข้าถึงสินค้าได้ง่าย มาทำความรู้จักข้อดีของชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking และแนวทางการเลือกชั้นวางที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ

ชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking

Selective Racking คืออะไร ?

ชั้นวางสินค้า Selective Racking คือ ชั้นวางแบบเลือกพาเลทได้ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นรูปแบบชั้นวางที่เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าหลากหลายประเภทบนพาเลท ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี และสามารถปรับระยะห่างของชั้นวางได้ตามต้องการ และมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับชั้นวางประเภทอื่น ๆ

ข้อดีการจัดเก็บสินค้าบนชั้นวางสินค้าแบบซีเล็คทีฟแร็ค

Selective Racking ระบบจัดเก็บสินค้าที่เข้าถึงได้ง่ายและยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถหยิบสินค้าทุกประเภทได้อย่างสะดวกจากทั้งสองฝั่งของชั้นวาง ช่วยให้จัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และพื้นที่จัดเก็บ รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงาน คลังสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า

  • เพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้า: ชั้นวางที่สามารถจัดเก็บสินค้าเป็นชั้น ๆ บนโครงสร้างสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มพื้นที่แนวตั้งให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
  • ควบคุมสต็อกสินค้าได้ง่าย : การจัดเก็บสินค้าบนชั้นวางแบบซีเล็คทีฟแร็ค ช่วยให้มองเห็นสินค้าในคลังได้ชัดเจน ง่ายต่อการตรวจสอบสต็อกสินค้า ค้นหาสินค้า และหยิบสินค้า
  • จัดเก็บสินค้าได้หลายประเภท : ชั้นวางที่รองรับการจัดเก็บสินค้าหลากหลายประเภท และสามารถปรับขนาดและรูปแบบชั้นวางให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภท
  • มีความยืดหยุ่นในการเก็บสินค้า : สามารถปรับระดับความสูงของชั้นวางได้ตามต้องการ รองรับสินค้าที่มีขนาดและรูปทรงแตกต่างกัน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดเก็บสินค้า
  • รองรับสินค้าหนักได้ดี : ชั้นวางผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง โครงสร้างมีความแข็งแรง ทนทาน รองรับสินค้าที่มีน้ำหนักได้ดี ช่วยป้องกันสินค้าเสียหาย
  • ประหยัดงบประมาณ : ระบบชั้นวางสินค้าแบบซีเล็คทีฟแร็คมีต้นทุนของวัสดุต่ำ ใช้แรงงานน้อยในการติดตั้ง ทำให้เป็นหนึ่งในระบบชั้นวางที่เหมาะสมที่สุด
ชั้นวางสินค้าแบบซีเล็คทีฟแร็ค

วิธีการเลือกใช้งานชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking

การเลือกใช้งานชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking ให้เหมาะสมกับธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ลักษณะของสินค้า : พิจารณาขนาดสินค้าทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง และน้ำหนักสินค้าแต่ละชิ้น เพื่อเลือกชั้นวางที่สามารถรองรับขนาดสินค้าได้อย่างเหมาะสม
  2. พื้นที่คลังสินค้า : ตรวจสอบขนาดและความสูงของคลังสินค้า ตลอดจนการวางผังต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งจัดเก็บ เส้นทางและระบบลำเลียงขนส่ง เพื่อให้สามารถเลือกชั้นวางและจำนวนให้เข้ากับพื้นที่ จึงสามารถจัดเก็บสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มเติม : ระบบ FIFO การหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน / LIFO การเก็บสินค้าที่เข้ามาล่าสุดออกก่อนเสมอ หรือระบบกันตก เช่น การทำราวกันตก ตัวป้องกันชั้นวางสินค้า หรืออุปกรณ์นิรภัยยึดติดกับโครงสร้างโดยรอบ
  4. งบประมาณ : กำหนดงบประมาณสำหรับการลงทุนในชั้นวางสินค้าแบบซีเล็คทีฟแร็ค พร้อมทำการเปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติจากผู้จำหน่ายหลายรายก่อนตัดสินใจ
  5. เลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ : ควรเลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่มีบริการออกแบบ ติดตั้ง และบริการหลังการขาย
  6. ตรวจสอบคุณภาพของชั้นวางก่อนใช้งาน : ตรวจสอบโครงสร้างของชั้นวางว่ามีความแข็งแรง มั่นคง ไม่มีรอยแตกหรือรอยร้าว รวมถึงงานสีและผิวเคลือบของชั้นวางว่าเรียบเนียน ไม่มีรอยขีดข่วนหรือรอยถลอก เพื่อการใช้งานที่มีคุณภาพในระยะยาว

ชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking ชั้นวางสินค้าแบบซีเล็คทีฟแร็ค

การเลือกใช้งานชั้นวางสินค้าแบบ Selective Racking อย่างถูกต้อง จะช่วยให้ธุรกิจมีระบบจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการที่มองหา ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม รองรับน้ำหนักได้อย่างทนทาน และปลอดภัย ต้องปรึกษาเรา ! Tellus ผู้ผลิตและออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ จำหน่าย Selective Racking ชั้นวางสินค้าแบบเลือกพาเลท ในราคาคุ้มค่า เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ พร้อมมีบริการหลังการขายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานภายในคลังสินค้าของคุณมากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-643-8044.

แหล่งอ้างอิง